ข่าวสารรอบโลก

ประเทศไทยและการค้าเสรี

บทความข้อคิดเห็นโดย มาร์ค เคนท์ เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ในวันที่ 16 กันยายนนี้ สหภาพยุโรปและประเทศไทยจะเจรจาในข้อตกลงการค้าเสรี เป็นรอบที่สองที่จังหวัดเชียงใหม่

เผยแพร่ภายใต้ 2010 to 2015 Conservative and Liberal Democrat coalition government
Business is Great

สหราชอาณาจักรสนับสนุนการเปิดตลาดทั่วโลกและการตกลงระหว่างสองฝ่ายมาโดยตลอด ซึ่งข้อตกลงการค้าเสรีจาเป็นมากหากเราต้องการให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทั้งสองฝ่ายจากความสัมพันธ์ด้านการค้าการลงทุน

สหราชอาณาจักรมีประวัติศาสตร์ในด้านการค้าการลงทุนที่รุ่งเรืองมาเป็นระยะเวลายาวนาน เราจึงมีกรณีศึกษาของการค้าและการลงทุนที่ประสบความสาเร็จในการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตอย่างเป็นรูปธรรม เราทราบว่า โดยเฉลี่ยแล้ว การเพิ่มปริมาณการค้าร้อยละ 10 จะเพิ่มรายได้ร้อยละ 5 ประเทศที่ไม่เห็นความสาคัญของการค้าในเวทีโลกจะพลาดโอกาสที่จะได้รับประโยชน์จากความเชี่ยวชาญจากนานาประเทศ รวมถึงต้นทุนวัตถุดิบที่ถูกลง และเทคโนโลยีที่จาเป็น

สหภาพยุโรปมี 28 ประเทศสมาชิกและผู้บริโภคกว่า 500 ล้านคน จึงเป็นโอกาสที่ดีสาหรับบริษัทส่งออกจากประเทศไทย สหราชอาณาจักรเป็นผู้นาเข้าสินค้าและบริการรายใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจที่เปิดกว้างมากที่สุดในโลก เราสนับสนุนการเปิดตลาดสหภาพยุโรปให้กับบริษัทจากประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงการค้าเสรี การเปิดกว้างให้กับสินค้านาเข้าจะช่วยให้เกิดการแข่งขัน นวัตกรรมและศักยภาพ อีกทั้งราคาที่ถูกลงสาหรับผู้บริโภค ธนาคารโลกได้จัดอันดับให้สหราชอาณาจักรเป็นประเทศที่ “ดาเนินธุรกิจได้ง่าย” เป็นอันดับ 7 ของโลก และยังระบุว่าบริษัทอังกฤษที่ทาธุรกิจในตลาดโลกนั้นมีการพัฒนาทักษะ ความรู้และการบริหารจัดการที่ดี และลดความเสี่ยงที่จะมีปัญหาลง

ความสัมพันธ์ด้านการค้าการลงทุนไทย-อังกฤษสาคัญมากขึ้นเรื่อยๆ จะเห็นได้ว่าสินค้าส่งออกจากอังกฤษมายังประเทศไทยเพิ่มขึ้นถึงสามเท่าในช่วงห้าปีที่ผ่านมาและมีมูลค่าถึง 96,000 ล้านบาทในปี 2555 สินค้าส่งออกจากไทยไปอังกฤษนั้นเพิ่มขึ้นถึง 117,000 ล้านบาทในปี 2555 หากตลาดในประเทศไทยเปิดกว้างมากขึ้น จะเกิดประโยชน์แก่ผู้ผลิตและผู้บริโภคชาวไทยในวงกว้าง ทั้งภาคการเกษตร การผลิตสินค้าและการบริการด้านสุขภาพ

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการค้าเสรีนั้นมีมากกว่าด้านการค้า สหราชอาณาจักรมุ่งมั่นที่จะช่วยให้ประเทศต่างๆ ได้ใช้โอกาสทางการค้าระหว่างประเทศเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สร้างงานสร้างรายได้ การค้าที่เสรีมากขึ้นจะช่วยเพิ่มความมั่นคงทางอาหารและช่วยให้ประเทศต่างๆ ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้เช่นกัน

ในด้านสาธารณสุข สหราชอาณาจักรสนับสนุนแนวคิดของประเทศไทยในการให้บริการด้านสุขภาพอย่างทั่วถึงแก่ประชาชนทุกคน ผมเชื่อว่าข้อตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรปจะช่วยให้ประเทศไทยบรรลุจุดมุ่งหมายนี้โดยจูงใจให้องค์กรทั้งไทยและสหภาพยุโรปลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนายารักษาโรคใหม่ๆ ที่จะมีประโยชน์ต่อคนไทย สหราชอาณาจักรมุ่งมั่นในการช่วยเหลือนานาประเทศทั่วโลกในด้านยารักษาโรคที่จะช่วยชีวิตผู้คน และสนับสนุนการจัดหายา รักษาโรคในประเทศไทยผ่านความร่วมมือในระดับสากล อาทิ โกลบอล ฟันด์ ที่ช่วยเรื่องโรคเอดส์ วัณโรค และไข้มาลาเรีย ซึ่งจะช่วยให้คนเข้าถึงการป้องกัน การวินิจฉัยและการตรวจเชื้อสาหรับโรคร้ายแรง ได้มากขึ้น

ประเทศไทยนั้นมีบุคลากรที่มีประสบการณ์และความรู้มากขึ้น จึงควรพิจารณาในการที่จะเข้ามามีบทบาทในเวทีโลกด้านการวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพมากยิ่งขึ้น โดยสหราชอาณาจักรยินดีที่จะสนับสนุนผ่านบริษัทที่ดาเนินธุรกิจด้านสุขภาพชั้นนา และผ่านความร่วมมือระดับรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขของทั้งสองประเทศ เรายังร่วมมือกับทุกภาคส่วนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิธีการดาเนินการค้าการลงทุนของประเทศเรา และผมยินดีที่จะพูดคุยกับภาคประชาสังคมเพื่อรับฟังความคิดเห็นว่าเราจะสามารถจูงใจภาคเอกชนในการลงทุนในประเทศไทยโดยไม่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงยารักษาโรคของคนไทย

รัฐบาลนานาประเทศต้องสร้างแรงจูงใจให้กับบริษัทต่างๆ เพื่อมาลงทุน ไม่เพียงแต่ธุรกิจสุขภาพเท่านั้นยังรวมถึงธุรกิจอื่นๆ ของไทยอีกด้วย การลงทุนของภาคเอกชนทั้งจากบริษัทไทยและต่างชาติล้วนมีส่วนต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เราได้รับประโยชน์อย่างมากจากการที่มีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในอังกฤษ รวมถึงจากประเทศไทย และเรายินดีอย่างยิ่งที่บริษัทจากประเทศไทยจะมาลงทุนในสหราชอาณาจักรมากยิ่งขึ้น บริษัทอังกฤษเองยินดีที่จะสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุนในโครงการที่มีมูลค่าสูงในกลุ่มประเทศประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจและเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคชาวไทย เพื่อให้แน่ใจว่าประเทศไทยจะก้าวทันอย่างเท่าเทียมในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

เราทราบดีว่าความต้องการของบริษัทที่จะลงทุนในประเทศใดประเทศหนึ่งนั้นขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและรวมถึงการที่กฏหมาย ข้อบังคับ และสาธารณูปโภครองรับหรือจากัดกิจกรรมทางธุรกิจ เมื่อกลุ่มธุรกิจบริการต่างๆ ของไทยเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าประเทศไทยต้องการภาคธุรกิจบริการที่เปิดกว้างและมีการกากับดูแลเป็นอย่างดี ที่จะเอื้อต่อการแข่งขันและนวัตกรรม การปฏิรูปพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวจะช่วยเปิดตลาดให้กับบริษัทต่างชาติในกลุ่มธุรกิจบริการ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการลงทุนมูลค่าสูงจากอังกฤษและประเทศอื่นมายังประเทศไทยมากยิ่งขึ้น

ประเด็นสาคัญที่บริษัทอังกฤษที่ต้องการลงทุนในประเทศไทยหยิบยกขึ้นมาคือความกังวลในเรื่องการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา เราทราบว่าการปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา รวมไปถึงสิทธิบัตร นั้นมีความสาคัญต่อการพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ และจะมีความสาคัญมากขึ้นเมื่อเศรษฐกิจไทยต้องการพัฒนาธุรกิจดังกล่าว

การเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีที่ดาเนินอยู่ระหว่างประเทศไทยและประเทศต่างๆ รวมถึงในกลุ่มสหภาพยุโรป จะก่อให้เกิดโอกาสอันดีในการก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ และช่วยสนับสนุนการเติบโตและพัฒนาในประเทศไทย ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าประเทศไทยจะพิจารณาโอกาสที่จะเกิดจากการเจรจาการค้าเสรีครั้งนี้

รายละเอียดเพิ่มเติม

การค้า & การลงทุน ประเทศไทย

ติดตามทวิตเตอร์เอกอัครราชทูตอังกฤษ@KentBKK

ติดตามทวิตเตอร์ และ เฟซบุ๊ก สถานทูตอังกฤษ

Photostream of UKinThailand

เผยแพร่เมื่อ 11 September 2013
อัปเดตล่าสุดเมื่อ 16 September 2013 + show all updates
  1. Added translation

  2. First published.